วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ปืนวัดอุณหภูมิ Infrared Thermometer
ถ้าเรามีความต้องการจะวัดสิ่งของหรือวัตถุ จะมีเครื่องวัดอุณหภูมิที่จำเพาะหรือไม่ คำตอบคือมี สิ่งเครื่องวัดอุณหภูมิดังกล่าวใช้ระบบตรวจวัดแบบอินฟาเรดโดยเล็งเครื่องไปยังจุดที่ต้องการจะตรวจวัดและกดปุ่มยิง ค่าอุณหภูมิที่ได้ก็จะขึ้นมายังตัวเครื่องเอง แต่มีจุดที่พึงระวังสำหรับผู้ใช้ด้วย คือ ผู้ใช้ควรจะต้องรู้อุณหภูมิคร่าว ๆ ของอุปกรณ์ที่จะตรวจวัดก่อน และก็เช่นกันควรจะรู้คร่าว ๆ ถึงขีดความสามารถอุปกรณ์ที่จะใช้ตรวจวัด
อธิบายให้ง่ายๆ คือ ต้องรู้คร่าว ๆ ถึงอุณหภูมิของสิ่งของที่จะวัดและปืนที่จะใช้ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นคำตอบคือ ถ้าไม่รู้ถึงอุณหภูมิคร่าว ๆ ของสิ่งของที่จะตรวจวัดและนำปืนที่จะใช้ตรวจวัดไปใช้กับสิ่งของนั้น ๆ ถ้าอุณหภูมิของสิ่งของนั้น ๆ อยู่ในช่วงที่ปืนสามารถจะตรวจวัดได้ก็จะทำให้การตรวจวัดเป็นปกติ แต่ถ้าอุณหภูมิสิ่งของนั้น ๆ ไม่อยู่ในช่วงที่ปืนวัดอุณหภูมิจะสามารถวัดได้ก็จะทำให้ค่าที่ได้จากการตรวจวัดคลาดเคลื่อนได้ หรือในบางกรณีสิ่งของที่จะตรวจวัดมีอุณหภูมิสูงกว่าความสามารถของปืนวัดอุณหภูมิจะสามารถรับได้มาก ๆ ก็เป็นไปได้ที่จะทำให้ปืนวัดอุณหภูมิที่ใช้เกิดความเสียหายได้
โดยทั่วไปการวัดอุณหภูมิโดยปกติเราอาจจะใช้ปรอทหรือเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะในการวัดได้ถ้าอุณหภูมิที่จะตรวจวัดไม่สูงจนเกินไป หรือต่ำจนเกินไป ซึ่งข้อดีของเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะแบบธรรมดาคือ ราคาถูก หาง่าย แต่ถ้าหากอุณหภูมิที่เราต้องการจะตรวจวัดสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิของเทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะที่รับได้ การเลือกอุปกรณ์ตรวจวัดแบบเครื่องวัดอุณหภูมิระบบไม่สัมผัสเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ยืดหยุ่นกว่า ไม่ทำให้ผู้วัดต้องไปสัมผัสกับสิ่งของโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน การวัดไม่รบกวนระบบการทำงานของเครื่องจักร ไม่ต้องหยุดเดินเครื่องจักร สามารถจะตรวจวัดในจุดที่เข้าถึงได้ยาก เช่น ซอกมุมเล็ก ๆ สามารถตรวจวัดโดยหลีกเลี่ยงสัมผัสกับสารเคมีอันตราย เป็นต้น สามารถทำการตรวจวัดและทราบข้อมูลได้อย่างรวดเร็วเพื่อที่จะควบคุมระดับอุณหภูมิของสิ่งที่เราต้องการจะวัดให้อยู่ในระดับที่เราต้องการได้ เช่น เตาอบพิซซ่า อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมพลาสติก หม้อไอน้ำ อุปกรณ์ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เครื่องยนต์ กิจการดับเพลิง ฯลฯ
ถ้าจะถามว่าการเลือกซื้อปืนวัดอุณหภูมิสักเครื่อง ควรจะพิจารณาจากคุณสมบัติใดบ้าง
ข้อพึงสังเกตุง่าย ๆ คือค่า D:S (Distance to spot ratio) หรือบางครั้งก็เรียก Field of view ซึ่งก็คือค่า ระยะทางจากหน้าเลนส์ตัวปืนวัดไปยังจุดที่ต้องการวัด หารด้วยระยะโฟกัสของปืนวัดอุณหภูมิตัวนั้น
ด้วยนิยามของค่า D:S นี้ทำให้อนุมานได้ว่า ค่า D:S ยิ่งมากยิ่งดี เพราะ ระยะโฟกัสของปืนมีความคงที่ในปืนนั้น แต่ระยะทางในการวัดเปลี่ยนไปได้
ค่า D:S ปกติที่พบเห็นทั่วไปในปืนวัดอุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 10:1 ขึ้นไป ซึ่งปืนวัดอุณหภูมิที่มีค่าดังกล่าวสูง ๆ สามารถมีค่านี้ได้ถึง 20:1 จนมากกว่านี้ก็มี
อีกคุณสมบัติหนึ่งที่ควรนำมาพิจารณาประกอบด้วยก็คือ ค่า EMISSIVITY คือความสามารถในการสะท้อนรังสีอินฟาเรดของวัตถุใด ๆ เมื่อวัตถุนั้น ๆ รับพลังงานเข้าไปแล้วซึ่งจะไม่เท่ากันในทุกวัตถุ แต่ส่วนใหญ่ปืนวัดอุณหภูมิจะถูกตั้งค่าดังกล่าวไว้ที่ 0.95 แต่ถ้าปืนวัดอุณหภูมิรุ่นใดสามารถเลือกฟังก์ชั่นค่านี้ได้ก็จะทำให้การวัดอุณหภูมิมีความแม่นยำขึ้น ด้านล่างคือตัวอย่างค่า EMISSIVITY ที่ควรทราบ
มาที่ค่า D:S ของปืนวัดอุณหภูมิกันอีกครั้ง ถามว่าถ้าปืนวัดอุณหภูมิตัวหนึ่งมีค่า D:S ระบุว่า 12:1 หมายความว่าอย่างไร 12:1 เข้าใจง่าย ๆ ก็คือถ้าปืนวัดอุณหภูมิตัวนั้นนำไปวางอยู่หน้าวัตถุที่ต้องการวัดในระยะ 12 หน่วย จะวัดอุณหภูมิเฉลี่ยในเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 หน่วย
อธิบายให้ง่ายขึ้นอีก สมมติผมถือปืนดังกล่าวแล้วอยู่ห่างจากจุดที่ผมต้องการวัด 3 เมตร แล้วเล็งปืนและกดปุ่มวัดให้จุดแสงเลเซอร์ไปตกกระทบยังวัตถุที่จะวัด วัตถุที่จะวัดนั้นควรมีขนาดไม่เล็กไปกว่าวงกลมวงหนึ่งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 ซม.โดยมีแสงเลเซอร์นั้นเป็นจุดศูนย์กลาง
คำนวนให้ดูครับ 3/x =12 เพราะฉะนั้น X = 0.25 m หรือ 25 ซม.
สรุปได้ว่าวัตถุที่เล็กควรวัดในระยะที่ใกล้ถึงใกล้มาก หรือถึงแม้วัตถุที่ใหญ่ก็ตามถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรไปวัดในระยะที่ไกลมาก เพราะจะทำให้การเฉลี่ยอุณหภูมิอยู่ในวงกว้าง
ข้อจำกัดของปืนวัดอุณหภูมิ
1. ไม่ควรนำไปวัดกับสิ่งของโปร่งแสง เช่น น้ำ น้ำมัน พลาสติกใส เพราะค่าที่ได้จะไม่ตรง
2. วัตถุใด ๆ ก็ตามที่มีค่า EMISSIVITY ต่ำมาก ๆ มีวิธีแก้ไขได้ถ้าต้องการใช้ปืนวัดอุณหภูมิไปตรวจวัด โดยที่ปืนวัดอุณหภูมินั้นได้ตั้งค่า EMISSIVITY ไว้ล่วงหน้าแล้วไว้ที่ค่าค่อนข้างสูงเช่น preset ไว้ที่ 0.95 เป็นต้น ให้ใช้เทปกาวสีดำพันสายไฟ หรือ แลคเกอร์ดำ ไปปะไว้ยังจุดที่ต้องการเล็งปืนวัดอุณหภูมิ แล้วค่อยเล็งเพื่อตรวจวัด
3. ไม่ควรนำไปวัดกับวัตถุใด ๆ ที่มีสิ่งปกปิดมาก ๆ หรือมีฝุ่นจับหนา ๆ เช่นถ่านไฟในเตาเพราะปืนจะไปตรวจวัดขี้เถ้าบนพื้นผิวถ่านไฟ อาจจะทำให้ค่าที่วัดได้ไม่ตรง
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรด (IR Thermometer)
Emissivity Factors for Common Materials
  • Material under test Emissivity Material under test Emissivity
    Asphalt 0.90 to 0.98
  • Cloth (black) 0.98
    Concrete 0.94
  • Skin (human) 0.98
    Cement 0.96
  • Leather 0.75 to 0.80
    Sand 0.90
  • Charcoal (powder) 0.96
    Soil 0.92 to 0.96
  • Lacquer 0.80 to 0.95
    Water 0.92 to 0.96
  • Lacquer (matt) 0.97
    Ice 0.96 to 0.98
  • Rubber (black) 0.94
    Snow 0.83
  • Plastic 0.85 to 0.95
    Glass 0.90 to 0.95
  • Timber 0.90
    Ceramic 0.90 to 0.94
  • Paper 0.70 to 0.94
    Marble 0.94
  • Chromium Oxides 0.81
    Plaster 0.80 to 0.90
  • Copper Oxides 0.78
    Mortar 0.89 to 0.91
  • Iron Oxides 0.78 to 0.82
    Brick 0.93 to 0.96
  • Textiles 0.90

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มิเตอร์วัดปุ๋ย (EC Meter)

มิเตอร์วัดปุ๋ย (EC Meter)
ค่าตัวเลขที่วัดได้จาก EC meter จะมีค่า อยู่ระหว่าง 0-9,990 µS/cm (1,000 µS = 1 mS) มาจาก มิลลิซีเมนต์/เซ็นติเมตร
โดยหลักการแล้ว ค่าที่วัดได้จาก EC meter เป็นค่าความนำไฟฟ้า โดยมีหลักการว่า ถ้าวัดในน้ำปุ๋ย แล้วได้ค่าความนำไฟฟ้ามาก ก็แสดงว่า มีค่าปุ๋ยมากเช่นกัน
ก่อนที่จะนำน้ำมาใช้ปลูกผักไฮโดรฯ ควรจะวัดค่า EC น้ำเปล่าก่อน ถ้า EC เกิน 300 µS/cm ไม่ควรนำมาใช้ ควรหาน้ำ ที่ค่า EC ต่ำกว่า 300 ms/cm มาใช้

 น้ำประปา มาตรฐาน ค่า EC ประมาณ 240-280 µS /cm ใช้ได้
 น้ำบาดาล ค่า EC ประมาณ 800 – 1200 µS /cm ไม่ควรใช้
 น้ำจากเครื่องกรอง RO (Reverse Osmosis) ค่า EC ประมาณ 0-30 ใช้ได้ 

โดยปกติ EC meter จะถูกนำมาใช้ ในการชดเชยน้ำปุ๋ย ในถังปุ๋ย ในแต่ละวันผู้ปลูกควรจะเอามิเตอร์มาเช็ค ค่า EC ของน้ำในถังปุ๋ย โดยที่ การปลูกผักชนิดต่างๆ จะต้องใช้ปุ๋ย ต่างระดับกันดังต่อไปนี้

ผักสลัด ใช้ EC ประมาณ 1,400 – 2,000 µS /cm
 ผักไทย ยกเว้นคะน้า ใช้ EC ประมาณ 2,000-2,500 µS /cm
 ผักคะน้า ใช้ EC ประมาณ 4,000 -4,500 µS /cm

 สัดส่วนของปุ๋ยน้ำ ต่อ น้ำ จะอยู่ที่ 3 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 30 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตร ซึ่งจะได้ ค่า EC ประมาณ 1,450 µS /cm ซึ่งเป็นค่าในช่วงการปลูกผักสลัด

 Conductivity Meter เครื่องวัดความนำไฟฟ้า ค่า EC ของสารละลายฯ เป็นค่าวัด เพื่อแสดงถึงความเข้มข้นของเกลือทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นค่าวัดโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้
หน่วยการวัดค่า EC มีหลายหน่วยแล้วแต่เครื่องมือที่ใช้วัด - ความหมายของค่า EC น้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อน้ำมีเกลือละลายอยู่ เกลือเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก (Cat-ion) และประจุลบ (An-ion) ซึ่งประจุบวกและลบที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้สารละลายที่มีเกลือที่แตกตัวได้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำ
ดังนั้น จึงสามารถใช้ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายเป็นตัวบอกปริมาณเกลือที่ละลายในสารละลาย
เช่น เมื่อเกลือแกงละลายในน้ำจะแตกตัวได้ NaCl --------------> Na+ + Cl- 

น้ำตาล และยูเรีย สามารถละลายน้ำได้เหมือนกัน แต่เมื่อละลายแล้วจะไม่แตกตัว ดังนั้นก็จะไม่เพิ่มค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย จึงไม่สามารถวัดความเข้มข้นด้วยค่าการนำไฟฟ้าได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ ส่วนใหญ่เป็นสารที่สามารถแตกตัวได้ สารที่มีประจุบวก และประจุลบทุกตัวจึงสามารถวัดความเข้มข้นโดยการวัดค่าการนำไฟฟ้าได้ ค่าการนำไฟฟ้า และค่าความเข้มข้นของสารละลายจะมีความสัมพันธ์แบบเป็นเส้นตรง กล่าวคือ ถ้าความเข้มข้นสารละลายเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว ค่าการนำไฟฟ้าก็จะเพิ่มหนึ่งเท่าด้วย ดังที่กล่าวมาแล้ว ค่าการนำไฟฟ้าบอกให้ทราบถึงปริมาณเกลือที่ละลายโดยรวมอยู่ในสารละลายไม่สามารถแยกชนิดของเกลือได้ ตัวอย่างเช่นในน้ำมีเกลือ NaCl และปุ๋ย KNO3 ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2,500 µS /cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี่ NaCl อยู่เท่าใด และ มี KNO3 อยู่เท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2,500 µS /cm - เครื่องมือวัด ค่าการนำไฟฟ้า (EC- Meter) เครื่องที่ใช้วัดค่าการนำไฟฟ้า คือ เครื่อง EC Meter จะวัดค่า Electric Conductivity ระหว่างแท่งโลหะสองแท่งจุ่มอยู่ในสารละลายที่ต้องการวัดค่า ส่วนใหญ่ปัจจุบันเครื่องจะวัดเป็นค่าตัวเลขออกมาเลย (Digital) เนื่องจากอุณหภูมิของสารละลายจะมีผลต่อค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายเป็นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องมีการแก้ไขค่าที่อ่านได้ให้เป็นค่าที่อุณหภูมิมาตรฐานเดียวกัน เช่นที่ 25 C ซึ่งการปรับค่านี้อาจทำได้จากการดูจากตาราง หรือ ปรับที่เครื่องมือวัด ปัจจุบันเครื่องมือสามารปรับค่าที่อ่านได้โดยอัตโนมัติ คือเครื่องมือจะมีเป็นแบบชดเชยอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ (Automatic Temperature Compensate) ดังนั้น การซื้อเครื่องมือควรซื้อเป็นแบบปรับแก้อุณหภูมิแบบอัตโนมัติ วิธีการวัดก็ง่าย ๆ เพียงแต่เปิดเครื่องและทำการวัดได้เลย การดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยากคือหลังจากวัดแล้วให้ล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดหัวอ่านให้สะอาดและแห้งเก็บได้เลย

สามารถซื้อ EC Meter ใด้ที่นี่