วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

มิเตอร์วัดปุ๋ย (EC Meter)

มิเตอร์วัดปุ๋ย (EC Meter)
ค่าตัวเลขที่วัดได้จาก EC meter จะมีค่า อยู่ระหว่าง 0-9,990 µS/cm (1,000 µS = 1 mS) มาจาก มิลลิซีเมนต์/เซ็นติเมตร
โดยหลักการแล้ว ค่าที่วัดได้จาก EC meter เป็นค่าความนำไฟฟ้า โดยมีหลักการว่า ถ้าวัดในน้ำปุ๋ย แล้วได้ค่าความนำไฟฟ้ามาก ก็แสดงว่า มีค่าปุ๋ยมากเช่นกัน
ก่อนที่จะนำน้ำมาใช้ปลูกผักไฮโดรฯ ควรจะวัดค่า EC น้ำเปล่าก่อน ถ้า EC เกิน 300 µS/cm ไม่ควรนำมาใช้ ควรหาน้ำ ที่ค่า EC ต่ำกว่า 300 ms/cm มาใช้

 น้ำประปา มาตรฐาน ค่า EC ประมาณ 240-280 µS /cm ใช้ได้
 น้ำบาดาล ค่า EC ประมาณ 800 – 1200 µS /cm ไม่ควรใช้
 น้ำจากเครื่องกรอง RO (Reverse Osmosis) ค่า EC ประมาณ 0-30 ใช้ได้ 

โดยปกติ EC meter จะถูกนำมาใช้ ในการชดเชยน้ำปุ๋ย ในถังปุ๋ย ในแต่ละวันผู้ปลูกควรจะเอามิเตอร์มาเช็ค ค่า EC ของน้ำในถังปุ๋ย โดยที่ การปลูกผักชนิดต่างๆ จะต้องใช้ปุ๋ย ต่างระดับกันดังต่อไปนี้

ผักสลัด ใช้ EC ประมาณ 1,400 – 2,000 µS /cm
 ผักไทย ยกเว้นคะน้า ใช้ EC ประมาณ 2,000-2,500 µS /cm
 ผักคะน้า ใช้ EC ประมาณ 4,000 -4,500 µS /cm

 สัดส่วนของปุ๋ยน้ำ ต่อ น้ำ จะอยู่ที่ 3 ซีซี ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ 30 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตร ซึ่งจะได้ ค่า EC ประมาณ 1,450 µS /cm ซึ่งเป็นค่าในช่วงการปลูกผักสลัด

 Conductivity Meter เครื่องวัดความนำไฟฟ้า ค่า EC ของสารละลายฯ เป็นค่าวัด เพื่อแสดงถึงความเข้มข้นของเกลือทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ ซึ่งเป็นค่าวัดโดยรวมไม่สามารถแยกบอกความเข้มข้นของเกลือแต่ละตัวได้
หน่วยการวัดค่า EC มีหลายหน่วยแล้วแต่เครื่องมือที่ใช้วัด - ความหมายของค่า EC น้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์ แต่เมื่อน้ำมีเกลือละลายอยู่ เกลือเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก (Cat-ion) และประจุลบ (An-ion) ซึ่งประจุบวกและลบที่เกิดขึ้น จะเป็นตัวนำไฟฟ้าทำให้สารละลายที่มีเกลือที่แตกตัวได้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity) ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือที่ละลายอยู่ในน้ำ
ดังนั้น จึงสามารถใช้ค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายเป็นตัวบอกปริมาณเกลือที่ละลายในสารละลาย
เช่น เมื่อเกลือแกงละลายในน้ำจะแตกตัวได้ NaCl --------------> Na+ + Cl- 

น้ำตาล และยูเรีย สามารถละลายน้ำได้เหมือนกัน แต่เมื่อละลายแล้วจะไม่แตกตัว ดังนั้นก็จะไม่เพิ่มค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย จึงไม่สามารถวัดความเข้มข้นด้วยค่าการนำไฟฟ้าได้ แต่เนื่องจากปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ ส่วนใหญ่เป็นสารที่สามารถแตกตัวได้ สารที่มีประจุบวก และประจุลบทุกตัวจึงสามารถวัดความเข้มข้นโดยการวัดค่าการนำไฟฟ้าได้ ค่าการนำไฟฟ้า และค่าความเข้มข้นของสารละลายจะมีความสัมพันธ์แบบเป็นเส้นตรง กล่าวคือ ถ้าความเข้มข้นสารละลายเพิ่มขึ้นหนึ่งเท่าตัว ค่าการนำไฟฟ้าก็จะเพิ่มหนึ่งเท่าด้วย ดังที่กล่าวมาแล้ว ค่าการนำไฟฟ้าบอกให้ทราบถึงปริมาณเกลือที่ละลายโดยรวมอยู่ในสารละลายไม่สามารถแยกชนิดของเกลือได้ ตัวอย่างเช่นในน้ำมีเกลือ NaCl และปุ๋ย KNO3 ละลายรวมกันอยู่ และวัดค่า EC ได้ = 2,500 µS /cm เราไม่สามารถทราบได้ว่ามี่ NaCl อยู่เท่าใด และ มี KNO3 อยู่เท่าใด ทราบเพียงแต่ว่ามีอยู่รวมกัน มีค่า = 2,500 µS /cm - เครื่องมือวัด ค่าการนำไฟฟ้า (EC- Meter) เครื่องที่ใช้วัดค่าการนำไฟฟ้า คือ เครื่อง EC Meter จะวัดค่า Electric Conductivity ระหว่างแท่งโลหะสองแท่งจุ่มอยู่ในสารละลายที่ต้องการวัดค่า ส่วนใหญ่ปัจจุบันเครื่องจะวัดเป็นค่าตัวเลขออกมาเลย (Digital) เนื่องจากอุณหภูมิของสารละลายจะมีผลต่อค่าการนำไฟฟ้าของสารละลายเป็นอย่างมาก ดังนั้นจะต้องมีการแก้ไขค่าที่อ่านได้ให้เป็นค่าที่อุณหภูมิมาตรฐานเดียวกัน เช่นที่ 25 C ซึ่งการปรับค่านี้อาจทำได้จากการดูจากตาราง หรือ ปรับที่เครื่องมือวัด ปัจจุบันเครื่องมือสามารปรับค่าที่อ่านได้โดยอัตโนมัติ คือเครื่องมือจะมีเป็นแบบชดเชยอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ (Automatic Temperature Compensate) ดังนั้น การซื้อเครื่องมือควรซื้อเป็นแบบปรับแก้อุณหภูมิแบบอัตโนมัติ วิธีการวัดก็ง่าย ๆ เพียงแต่เปิดเครื่องและทำการวัดได้เลย การดูแลรักษาก็ไม่ยุ่งยากคือหลังจากวัดแล้วให้ล้างด้วยน้ำสะอาดเช็ดหัวอ่านให้สะอาดและแห้งเก็บได้เลย

สามารถซื้อ EC Meter ใด้ที่นี่